April 2022

Month

ในช่วงฤดูฝนเมื่อต้นข้าวเริ่มแทงยอดอ่อน ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปูนาจะพากันออกมา   ตามท้องนากันอย่างชุกชุม  ชาวบ้านในภาคเหนือต่างนิยมจับมาบริโภค  เมื่อจับได้ในปริมาณมากจนรับประทานไม่ทัน   จึงได้มีการนำมาแปรรูปถนอมอาหารทำเป็นเครื่องปรุงรส ที่เรียกกันว่า “น้ำปู” หรือ “น้ำปู๋” ตามการออกเสียงใน    ภาษาเหนือ โดยหน้าตาของน้ำปูจะคล้ายกะปิแต่มีสีดำ ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ กระบวนการสำคัญในการผลิตน้ำปูคือ ล้าง ปั่น กรอง หมัก และเคี่ยว  แม้จะใช้เวลาในการผลิตไม่นานเมื่อเทียบกับการผลิตน้ำปลา กะปิ บูดู และปลาร้า  เนื่องจากน้ำปูไม่ต้องใช้เวลาในการหมักที่ยาวนาน  แต่ก็ต้องใช้ความอดทน    ในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่การออกไปจับปูนากลางแดดร้อน ๆ  ซึ่งควรเลือกวันที่แดดจัด  เพราะ    ยิ่งแดดร้อนปูนาจะยิ่งออกมามาก  สามารถใช้ปูนาได้ทุกขนาด แต่ขนาดที่เหมาะกับการผลิตน้ำปูควรมีขนาดกลาง ๆ ซึ่งให้กากน้อยและให้ความหอมมันกว่าปูตัวใหญ่และปูที่ตัวเล็ก  หากต้องการผลิตน้ำปูให้ได้ 1 กิโลกรัม ต้องใช้ปู 7 – 10 กิโลกรัม ขั้นตอนการผลิตจะเริ่มจาก 1. ล้างปูให้สะอาด โดยแช่น้ำทิ้งสักพักไว้ก่อนทำความสะอาดให้ปราศจากโคลนและสิ่งปลอมปน ต้องใช้ปูที่มีชีวิตเท่านั้นในการผลิต หากเป็นปูที่ตายมาแล้วจะทำให้น้ำปูที่ได้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์และเก็บได้ไม่นานนัก 2. นำตะไคร้...
Read More
อาชีพประมงในวิถีชีวิตของคนไทยในภาคใต้ริมฝั่งทะเล นับว่าเป็นอาชีพหลักสำคัญอันหนึ่งของประชากรไทย การทำประมงมักมีการนำวัตถุดิบหรือนำผลผลิตที่หาได้มาแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหาร เช่น  การนำปลาที่เหลือจากการบริโภคและจำหน่าย มาผ่านขั้นตอนกระบวนการถนอมอาหารออกมาเป็น น้ำบูดู  ซึ่งเป็นน้ำปรุงรสเค็มสำหรับประกอบอาหาร  อันให้รสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์  จนกระทั่งกลายผลิตภัณฑ์แห่งวัฒนธรรมทางอาหารประเภทหนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คำว่า บูดู ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงที่มาของคำ แต่พอจะรวบรวมถึงความเป็นไปได้จากหลายทาง คือ  1. อาจมาจากชื่อของอุปกรณ์จับปลาตัวใหญ่ที่ชื่อ “บูบู๊” ในภาษาท้องถิ่น ปลาตัวใหญ่นี้เรียก “ปลาฆอ” แต่ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นใช้ปลาตัวเล็กเช่นปลากะตัก และคำที่ใช้เรียกออกเสียงเป็น บูดู 2. บูดู เป็นคำที่มาจากภาษายาวี หรือมลายู แต่ไม่สามารถระบุถึงความหมายได้ 3. บูดู มาจากภาษาอินโดนิเซีย ที่หมายถึง ปลาหมักดอง จากเรื่องราวประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเมืองฮาวอ อินโดนิเซีย  จากการถูกรุกราน ระหว่างรอนแรมได้มีการนำปลาที่จับได้มาหมักดองเพื่อเป็นเสบียง และเมื่อขึ้นฝั่ง ณ ที่ตำบล ปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี การผลิตปลาหมักดองนี้จึงได้แพร่หลายในพื้นที่  น้ำบูดูจึงได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของอำเภอสายบุรี มาแต่บัดนั้น ในการผลิตน้ำบูดูจะใช้วัตถุดิบหลักเพียงสองอย่าง    คือ ปลา และ เกลือ โดยนิยมใช้ปลา 2 ส่วนต่อเกลือ...
Read More
กะปิ (shrimp paste/shrimp sauce) เครื่องปรุงรสที่นิยมไปทั่วในประเทศทางเอเชียตะวันออก    เฉียงใต้ ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบหรือมีกรรมวิธีแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ อาทิ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว และโดยเฉพาะประเทศไทย อาจเนื่องด้วยมีลักษณะธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ และการเป็นสังคมเกษตรกรรม จึงทำให้วิถีทางวัฒนธรรมมีความคล้ายกัน ชื่อของ กะปิ บางตำราสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “งาปิ๊” ในภาษาพม่าอันหมายถึงปลาหมัก  สำหรับในประเทศไทย กะปิ นับได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญในการประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก หรือในแกงต่าง ๆ  ซึ่งหากมีกะปิผสมอยู่จะเป็นตัวช่วยชูรสชาติและกลิ่นของอาหารนั้นให้มีความหนัก เข้มข้น หอม และอร่อยอย่างมีเอกลักษณ์ วัตถุดิบในการทำกะปิจะใช้ได้ทั้งปลา กุ้ง และเคย (สัตว์น้ำในวงศ์พวกกุ้ง ลักษณะคล้ายกันมาก) กุ้งฝอยน้ำจืด สามารถแบ่งกะปิออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของเนื้อกะปิ คือ กะปิเหลว  (liquid kapi) ที่มีลักษณะเนื้อเหลว มีความข้นหนืดประมาณซอสมะเขือเทศ  และกะปิแห้ง (dry kapi)  มีลักษณะเนื้อหนึบ เหนียว แน่น ที่มักพบเห็นได้ตามท้องตลาดทั่วไปในบ้านเรา นอกจากแบ่งประเภทตามลักษณะเนื้อของกะปิแล้ว ยังสามารถ  แบ่งตามคุณลักษณะที่นำไปประกอบเมนูต่าง ๆ ...
Read More
คนไทยแต่ครั้งอดีตนิยมใช้เกลือเป็นหลักในการปรุงรสอาหาร  ต่อมาเมื่อได้มีการถนอมอาหารโดยนำสัตว์น้ำกับเกลือหมักเคล้ากัน เช่น ปลาร้า กะปิ  และในระหว่างขั้นตอนการผลิตยังได้น้ำรสเค็มที่มาจากการหมักนั้น มาใช้ปรุงรสเค็มได้อีกโดยนำมาใช้ปรุงรสในลักษณะของน้ำปลา  แต่จากแหล่งอ้างอิงถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของการผลิตน้ำปลาในประเทศไทยนั้นมาจากชาวจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพ  เป็นผู้ริเริ่มผลิตและนำออกจำหน่ายโดยมักบรรจุลงไห มีการผนึกปากไหและมีตรายี่ห้อสินค้าสลักบนไหอย่างดี ซึ่งปัจจุบันไหน้ำปลาได้กลายเป็นของเก่าสะสมที่มีมูลค่าอยู่พอควร การทำน้ำปลาสามารถใช้ปลาทะเล เช่น ปลากะตัก  ปลาหลังเขียว  และปลาน้ำจืด เช่นปลาสร้อย ปลาซิว  หรือใช้สัตว์อื่นแทนปลา เช่น หอย ปู กุ้ง โดยใช้เกลือเป็นส่วนประกอบหลัก แต่โดยทั่วไปปลากระตัก เป็นปลาที่นิยมนำมาผลิตน้ำปลา    เราสามารถแบ่งประเภทของน้ำปลาได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. น้ำปลาแท้  คือน้ำปลา ที่ได้จากการหมักปลาตามกรรมวิธีผลิตน้ำปลา 2. น้ำปลาจากสัตว์อื่น  คือน้ำปลาที่มีการใช้สัตว์อื่นในการหมักแทนการใช้ปลา โดยอาจมีน้ำปลาแท้ผสมอยู่หรือ   ไม่มีก็ได้ 3. น้ำปลาผสม   คือน้ำปลาที่มีการระเหยน้ำออกไป  หรือน้ำปลาตามข้อ 1 และ 2 ที่มีการผสมสิ่งปรุงแต่งสี รสและกลิ่น โดยใช้สารที่ไม่เป็นอันตราย           กรรมวิธีการผลิตน้ำปลา  หลักขั้นตอนสำคัญคือการล้าง หมัก กรอง  ซึ่งกรรมวิธีการผลิตทั่วไปจะเริ่มด้วย          ...
Read More
ทาสแมว ที่เราได้ยินจนคุ้นหูเป็นคำเรียกแทนคนรักแมว วันนี้จะพาผู้อ่านเข้าไปในท่องโลกของเจ้าเหมียวหรือเจ้านายผู้น่ารักขี้อ้อนของเหล่าทาส หนังสือเล่มนี้จะดึงดูดผู้อ่านและบรรดาทาสแมวเข้าสู้โลกอีกใบ โดยมีบาบา แมวลายสลิด ที่จะเป็นผู้นำทางไปสู่ประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยของเจ้าเหมียว ทั้งยุคขาวและยุคมืดของแมว บอกได้คำเดียวว่าแต่ละเรื่องที่บาบาจะพาเราไปท่องโลกประวัติศาสตร์ของแมวแต่ละตัวที่สำคัญต่อมนุษย์นั้นล้วนน่าสนใจและตื่นเต้น        นอกจากหนังสือเล่มนี้จะน่าอ่านแล้วความน่าสนใจในอีกอย่างคือ ภาพสีสันทั้งเล่มชวนให้น่าอ่านและแมว บาบาที่แต่งชุดต่างๆประกอบเรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมา  ความน่ารัก แสนรู้     ขี้เล่นของบาบาจำให้เพลิดเพลินกับเรื่องราวแบบไม้รู้ตัว ชื่อหนังสือ : ประวัติศาสตร์แมวมอง = A cat’s tale ชื่อผู้แต่ง  : พอล คูดูนาริส, เขียน ; ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์, แปล. หมวดหมู่ : SF442.6 ค244 2564 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : บริการทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป ชั้น 2 ห้องสมุดวิทยาเขตบางนา
Read More
เมื่อพูดถึงพืชอย่างกัญชา กัญชง และกระท่อม ก็มีแนวโน้มในการผ่อนปรนมากขึ้น  ตัวอย่างเช่นสามารถนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคได้ ปลดล็อกให้ทุกส่วนของกัญชาและกัญชงไม่เป็นสารเสพติด ยกเว้นช่อดอก ใบที่ติดกับช่อดอกและเมล็ดกัญชา รวมไปถึงกระท่อมสามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ผู้คนจึงให้ความสนใจในการเพาะและขายต้นพันธุ์กระท่อมเพิ่มมากขึ้น เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับพืชเหล่านี้ จึงขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ นอกจากผู้อ่านจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชา กัญชงแล้ว ยังจะได้รู้ถึงประโยชน์ที่ใช้ในการรักษาโรคทั้งทางการแพทย์แผนไทยและแผนแพทย์ปัจจุบัน รวมไปถึงขั้นตอนในการจดทะเบียน ขอใบอนุญาตปลูกกัญชาสำหรับบุคคลที่สามารถขออนุญาตปลูกได้ และการปลดล็อก กระท่อม ที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง หนังสือเล่มนี้เป็นภาพสีทั้งเล่ม มีภาพประกอบคำอธิบายช่วยให้เห็นภาพตามและเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ชื่อหนังสือ : รู้ก่อนปลูก กัญชา กัญชง กระท่อม พืชพร้อมทำเงิน ชื่อผู้แต่ง : ธวัช จรุงพิรวงศ์ หมวดหมู่ : SB295.C35 ธ171 2564 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : บริการทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป  ชั้น 2 ห้องสมุดวิทยาเขตบางนา
Read More
การลงทุนในธุรกิจการเงินของประเทศไทย ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับใครหลายๆคน ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจก่อนการลงทุน สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) คือการลงทุนในรูปแบบหนึ่งเป็นการใช้เงินสกุลดิจิทัล แทนการใช้เงินสด ช่วยให้สะดวก รวดเร็ว เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต ทุกคนมีสิทธิเข้ามาดูแลระบบกันเองได้ แต่มีความปลอดภัยในเรื่องของการรักษาข้อมูลที่นำเข้าไปเก็บไว้บนบล็อกเชน ทำให้มีนักลงทุนทั้งรายบุคคล และสถาบันเข้ามาลงทุนในตลาด Cryptocurrency มากขึ้น บางรายสร้างรายได้จากการลงทุนนี้ได้มากและบางรายก็เสียหายจากการลงทุนนี้เช่นกัน เราจึงต้องศึกษาหาความรู้อย่างรอบด้าน ศึกษาอย่างรอบคอบก่อนการลงทุน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แล้วทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้หรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็พบกันในเล่มได้เลย ชื่อหนังสือ : มือใหม่เริ่มต้นลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล Digital Asset Cryptocurrency Bitcoin ชื่อผู้แต่ง : นเรศ  เหล่าพรรณราย หมวดหมู่ :  HG1710.3 น175 2565 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : บริการทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป  ชั้น 2 ห้องสมุดวิทยาเขตบางนา
Read More
เสรีภาพ (Freedom) นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงมี ที่หมายถึงการกระทำใดๆที่เราสามารถเลือกทำได้ โดยไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของใคร รวมถึงพระสงฆ์ไทยด้วยเช่นกัน แต่การที่มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นศาสนจักรของรัฐมีมติให้พระสงฆ์ทุกวัดในประเทศเทศนาสอนประชาชนให้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และในขณะที่มีมติสั่งห้ามการจัดอภิปราย เสวนา แสดงประชาธิปไตยของประชาชน จึงเกิดคำถามต่อมาว่า “พระสงฆ์ เณร ไม่มีเสรีภาพทางศาสนาใช่หรือไม่” หนังสือเล่มนี้จะตอบคำถามโดยนำงานวิจัยเรื่อง “การปฏิรูปพระพุทธศาสนาสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 การกำหนดกรอบคุณค่าและแนวทางการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในสังคมไทย”  ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบของไทยกับการปฏิรูปศาสนาคริสต์ในยุโรป โดยใช้แนวคิดโลกวิสัย นำมาวิเคราะห์ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาที่ถูกสร้างขึ้นผ่านกระบวนการปฏิรูปทางศาสนา    ชื่อหนังสือ : เปรียบเทียบการปฏิรูปศาสนาคริสต์-พุทธ และสังคมโลกวิสัย. ชื่อผู้แต่ง : สุรพศ ทวีศักดิ์ เลขเรียกหนังสือ : BQ4570 ส2471 2564  อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : บริการทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป  ชั้น 2 ห้องสมุดวิทยาเขตบางนา
Read More
songkran-65-1 songkran-65-2 songkran-65-3
Read More