information

Category

อาชีพประมงในวิถีชีวิตของคนไทยในภาคใต้ริมฝั่งทะเล นับว่าเป็นอาชีพหลักสำคัญอันหนึ่งของประชากรไทย การทำประมงมักมีการนำวัตถุดิบหรือนำผลผลิตที่หาได้มาแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหาร เช่น  การนำปลาที่เหลือจากการบริโภคและจำหน่าย มาผ่านขั้นตอนกระบวนการถนอมอาหารออกมาเป็น น้ำบูดู  ซึ่งเป็นน้ำปรุงรสเค็มสำหรับประกอบอาหาร  อันให้รสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์  จนกระทั่งกลายผลิตภัณฑ์แห่งวัฒนธรรมทางอาหารประเภทหนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คำว่า บูดู ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงที่มาของคำ แต่พอจะรวบรวมถึงความเป็นไปได้จากหลายทาง คือ  1. อาจมาจากชื่อของอุปกรณ์จับปลาตัวใหญ่ที่ชื่อ “บูบู๊” ในภาษาท้องถิ่น ปลาตัวใหญ่นี้เรียก “ปลาฆอ” แต่ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นใช้ปลาตัวเล็กเช่นปลากะตัก และคำที่ใช้เรียกออกเสียงเป็น บูดู 2. บูดู เป็นคำที่มาจากภาษายาวี หรือมลายู แต่ไม่สามารถระบุถึงความหมายได้ 3. บูดู มาจากภาษาอินโดนิเซีย ที่หมายถึง ปลาหมักดอง จากเรื่องราวประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเมืองฮาวอ อินโดนิเซีย  จากการถูกรุกราน ระหว่างรอนแรมได้มีการนำปลาที่จับได้มาหมักดองเพื่อเป็นเสบียง และเมื่อขึ้นฝั่ง ณ ที่ตำบล ปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี การผลิตปลาหมักดองนี้จึงได้แพร่หลายในพื้นที่  น้ำบูดูจึงได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของอำเภอสายบุรี มาแต่บัดนั้น ในการผลิตน้ำบูดูจะใช้วัตถุดิบหลักเพียงสองอย่าง    คือ ปลา และ เกลือ โดยนิยมใช้ปลา 2 ส่วนต่อเกลือ...
Read More
กะปิ (shrimp paste/shrimp sauce) เครื่องปรุงรสที่นิยมไปทั่วในประเทศทางเอเชียตะวันออก    เฉียงใต้ ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบหรือมีกรรมวิธีแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ อาทิ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว และโดยเฉพาะประเทศไทย อาจเนื่องด้วยมีลักษณะธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ และการเป็นสังคมเกษตรกรรม จึงทำให้วิถีทางวัฒนธรรมมีความคล้ายกัน ชื่อของ กะปิ บางตำราสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “งาปิ๊” ในภาษาพม่าอันหมายถึงปลาหมัก  สำหรับในประเทศไทย กะปิ นับได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญในการประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก หรือในแกงต่าง ๆ  ซึ่งหากมีกะปิผสมอยู่จะเป็นตัวช่วยชูรสชาติและกลิ่นของอาหารนั้นให้มีความหนัก เข้มข้น หอม และอร่อยอย่างมีเอกลักษณ์ วัตถุดิบในการทำกะปิจะใช้ได้ทั้งปลา กุ้ง และเคย (สัตว์น้ำในวงศ์พวกกุ้ง ลักษณะคล้ายกันมาก) กุ้งฝอยน้ำจืด สามารถแบ่งกะปิออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของเนื้อกะปิ คือ กะปิเหลว  (liquid kapi) ที่มีลักษณะเนื้อเหลว มีความข้นหนืดประมาณซอสมะเขือเทศ  และกะปิแห้ง (dry kapi)  มีลักษณะเนื้อหนึบ เหนียว แน่น ที่มักพบเห็นได้ตามท้องตลาดทั่วไปในบ้านเรา นอกจากแบ่งประเภทตามลักษณะเนื้อของกะปิแล้ว ยังสามารถ  แบ่งตามคุณลักษณะที่นำไปประกอบเมนูต่าง ๆ ...
Read More
คนไทยแต่ครั้งอดีตนิยมใช้เกลือเป็นหลักในการปรุงรสอาหาร  ต่อมาเมื่อได้มีการถนอมอาหารโดยนำสัตว์น้ำกับเกลือหมักเคล้ากัน เช่น ปลาร้า กะปิ  และในระหว่างขั้นตอนการผลิตยังได้น้ำรสเค็มที่มาจากการหมักนั้น มาใช้ปรุงรสเค็มได้อีกโดยนำมาใช้ปรุงรสในลักษณะของน้ำปลา  แต่จากแหล่งอ้างอิงถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของการผลิตน้ำปลาในประเทศไทยนั้นมาจากชาวจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพ  เป็นผู้ริเริ่มผลิตและนำออกจำหน่ายโดยมักบรรจุลงไห มีการผนึกปากไหและมีตรายี่ห้อสินค้าสลักบนไหอย่างดี ซึ่งปัจจุบันไหน้ำปลาได้กลายเป็นของเก่าสะสมที่มีมูลค่าอยู่พอควร การทำน้ำปลาสามารถใช้ปลาทะเล เช่น ปลากะตัก  ปลาหลังเขียว  และปลาน้ำจืด เช่นปลาสร้อย ปลาซิว  หรือใช้สัตว์อื่นแทนปลา เช่น หอย ปู กุ้ง โดยใช้เกลือเป็นส่วนประกอบหลัก แต่โดยทั่วไปปลากระตัก เป็นปลาที่นิยมนำมาผลิตน้ำปลา    เราสามารถแบ่งประเภทของน้ำปลาได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. น้ำปลาแท้  คือน้ำปลา ที่ได้จากการหมักปลาตามกรรมวิธีผลิตน้ำปลา 2. น้ำปลาจากสัตว์อื่น  คือน้ำปลาที่มีการใช้สัตว์อื่นในการหมักแทนการใช้ปลา โดยอาจมีน้ำปลาแท้ผสมอยู่หรือ   ไม่มีก็ได้ 3. น้ำปลาผสม   คือน้ำปลาที่มีการระเหยน้ำออกไป  หรือน้ำปลาตามข้อ 1 และ 2 ที่มีการผสมสิ่งปรุงแต่งสี รสและกลิ่น โดยใช้สารที่ไม่เป็นอันตราย           กรรมวิธีการผลิตน้ำปลา  หลักขั้นตอนสำคัญคือการล้าง หมัก กรอง  ซึ่งกรรมวิธีการผลิตทั่วไปจะเริ่มด้วย          ...
Read More
songkran-65-1 songkran-65-2 songkran-65-3
Read More
เมื่อเทศกาลวาเลนไทน์ใกล้มาถึง  บรรยากาศรอบ ๆ ข้างก็ดูจะเริ่มอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมหวานใส ที่เต็มไปด้วยความน่ารักสวยสะพรั่งของดอกกุหลาบ หัวใจดวงโต  ช็อคโกแลต คุกกี้ ตุ๊กตาหมีตัวกลม ๆ สีแดงและชมพูเบ่งบานอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในหัวใจของใครหลาย ๆ คน            เทศกาลวาเลนไทน์เป็นที่รู้จักของผู้คนไปทั่วโลก  หลายคนผ่านเทศกาลวาเลนไทน์นี้มาแล้วหลายสิบปี  แต่หาก  จะถามถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของวันวาเลนไทน์ บางท่านก็ทราบดี บางท่านพอทราบคร่าว ๆ หรือหลายท่าน   อาจเลือน ๆ ลาง ๆ ไปแล้ว    ตำนานเรื่องราวความเป็นมาของวันวาเลนไทน์มีอยู่มากมายหลายตำนานด้วยกัน แต่ตำนานที่โดดเด่นจะมีอยู่สองเรื่องราว คือ           ตำนานแรก เป็นเรื่องราวของเทศกาล Lupercalia ในสมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ จัดเพื่อบูชาเทพเจ้าจูโน่   ผู้เป็นเทพแห่งความรัก หรือเทพแห่งอิสตรีเพศและการแต่งงาน  โดยจะเริ่มระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ของทุกปี     ในวันที่ 14  (บางตำรากล่าวว่าเป็นวันที่ 15) ชายหนุ่มจะจับสลากที่ทำจากดินเหนียวสลักชื่อของบรรดาหญิงสาวไว้ในไห  เรื่องราวในตำนานตรงจุดนี้มีกล่าวถึงไว้ 2 แบบ  แบบแรกกล่าวว่า หากชายหนุ่มจับได้ชื่อใคร ทั้งคู่ก็จะทำความรู้จักกัน ซึ่งหลายคู่มักมีความพึงพอใจกัน จนแต่งงานกันในเวลาต่อมา แบบที่สองกล่าวว่า...
Read More
วันรำลึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง พ.ศ. 2135 ถึงวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า  ในระหว่างการสู้รบนั้น ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ ได้แล่นไล่ล่าศัตรูจนออกนอกเขตแดนทำให้ทั้งสองพระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของทัพศัตรู  โดยได้กระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาอย่างสมพระเกียรติ    ซึ่งนับเป็นการทำยุทธหัตถีครั้งสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย นับแต่นั้นไม่ปรากฏว่ามีทัพใดมารุกรานกรุงศรีอยุธยาอีกเลย   วาระอันสำคัญนี้ควรค่าแก่การระลึกถึง จึงได้กำหนดให้เป็นวันกองทัพไทย ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกความกล้าหาญของบูรพกษัตริย์ตลอดจนเหล่าบรรพชนไทยผู้กล้า ผู้เสียสละชีพเพื่อปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไทยรวมทั้งเพื่อให้ทหารหาญไทยได้ระลึก และภาคภูมิใจในหน้าที่ ด้วยความรักและสามัคคีพร้อมปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยคุณูปการต่อปวงชนชาวไทย เพื่อชาวไทยได้มีชาติไทยที่ดำรงอยู่อย่างมีเอกราชสืบไป ที่มาของวันกองทัพไทย   ทั้งนี้แต่เดิมนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 กระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายน อันเป็นวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงกลาโหม ให้เป็นวันกองทัพไทยด้วย ครั้นต่อมาในสมัยของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เปลี่ยนวันกองทัพไทยให้เป็นวันที่ 25 มกราคมของทุกปี เนื่องจากเห็นว่าวันกองทัพไทย ควรเป็นวันสำคัญในทางประวัติศาสตร์ไทยที่แสดงถึงความกล้าหาญและเสียสละของผู้ปกป้องผืนแผ่นดินไทย ซึ่งควรเป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา เมื่อวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จศ. 954 และมีผู้คำนวณทางประวัติศาสตร์ไว้ว่าตรงกับวันที่ 25 มกราคม คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 25 มกราคมของทุกปีเป็นวันกองทัพไทยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2523 และให้เริ่มใช้ในปีพ.ศ....
Read More
1 2 3 4