Caption align here

Blog Full Both Sidebar With Frame

สำนักหอสมุดกลางและห้องสมุดวิทยาเขตบางนา มหาวิทยาลัยรามคำแหงปิดให้บริการ วันที่ 4 พ.ค. 2565 เนื่องในวันฉัตรมงคล
Read More
ในช่วงฤดูฝนเมื่อต้นข้าวเริ่มแทงยอดอ่อน ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปูนาจะพากันออกมา   ตามท้องนากันอย่างชุกชุม  ชาวบ้านในภาคเหนือต่างนิยมจับมาบริโภค  เมื่อจับได้ในปริมาณมากจนรับประทานไม่ทัน   จึงได้มีการนำมาแปรรูปถนอมอาหารทำเป็นเครื่องปรุงรส ที่เรียกกันว่า “น้ำปู” หรือ “น้ำปู๋” ตามการออกเสียงใน    ภาษาเหนือ โดยหน้าตาของน้ำปูจะคล้ายกะปิแต่มีสีดำ ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ กระบวนการสำคัญในการผลิตน้ำปูคือ ล้าง ปั่น กรอง หมัก และเคี่ยว  แม้จะใช้เวลาในการผลิตไม่นานเมื่อเทียบกับการผลิตน้ำปลา กะปิ บูดู และปลาร้า  เนื่องจากน้ำปูไม่ต้องใช้เวลาในการหมักที่ยาวนาน  แต่ก็ต้องใช้ความอดทน    ในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่การออกไปจับปูนากลางแดดร้อน ๆ  ซึ่งควรเลือกวันที่แดดจัด  เพราะ    ยิ่งแดดร้อนปูนาจะยิ่งออกมามาก  สามารถใช้ปูนาได้ทุกขนาด แต่ขนาดที่เหมาะกับการผลิตน้ำปูควรมีขนาดกลาง ๆ ซึ่งให้กากน้อยและให้ความหอมมันกว่าปูตัวใหญ่และปูที่ตัวเล็ก  หากต้องการผลิตน้ำปูให้ได้ 1 กิโลกรัม ต้องใช้ปู 7 –...
Read More
อาชีพประมงในวิถีชีวิตของคนไทยในภาคใต้ริมฝั่งทะเล นับว่าเป็นอาชีพหลักสำคัญอันหนึ่งของประชากรไทย การทำประมงมักมีการนำวัตถุดิบหรือนำผลผลิตที่หาได้มาแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหาร เช่น  การนำปลาที่เหลือจากการบริโภคและจำหน่าย มาผ่านขั้นตอนกระบวนการถนอมอาหารออกมาเป็น น้ำบูดู  ซึ่งเป็นน้ำปรุงรสเค็มสำหรับประกอบอาหาร  อันให้รสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์  จนกระทั่งกลายผลิตภัณฑ์แห่งวัฒนธรรมทางอาหารประเภทหนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คำว่า บูดู ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงที่มาของคำ แต่พอจะรวบรวมถึงความเป็นไปได้จากหลายทาง คือ  1. อาจมาจากชื่อของอุปกรณ์จับปลาตัวใหญ่ที่ชื่อ “บูบู๊” ในภาษาท้องถิ่น ปลาตัวใหญ่นี้เรียก “ปลาฆอ” แต่ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นใช้ปลาตัวเล็กเช่นปลากะตัก และคำที่ใช้เรียกออกเสียงเป็น บูดู 2. บูดู เป็นคำที่มาจากภาษายาวี หรือมลายู แต่ไม่สามารถระบุถึงความหมายได้ 3. บูดู มาจากภาษาอินโดนิเซีย ที่หมายถึง ปลาหมักดอง จากเรื่องราวประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเมืองฮาวอ อินโดนิเซีย  จากการถูกรุกราน ระหว่างรอนแรมได้มีการนำปลาที่จับได้มาหมักดองเพื่อเป็นเสบียง และเมื่อขึ้นฝั่ง ณ ที่ตำบล ปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี การผลิตปลาหมักดองนี้จึงได้แพร่หลายในพื้นที่ ...
Read More
1 43 44 45 46 47 49

Text Widget

Nullam quis risus eget urna mollis ornare vel eu leo. Nullam id dolor id nibh ultricies vehicula ut id elit. Donec ullamcorper nulla non metus auctor fringilla. Maecenas sed diam eget.

Recent News

เวลาเปิด-ปิด การให้บริการประจำเดือนมกราคม 2568
20/12/2024
SUGAR BLUES ภาวะเสพติดน้ำตาล อาการติดกินหวาน
18/12/2024
ต้มยำกุ้ง Soft Power อาหารของไทย
16/12/2024