Caption align here

Blog Full Both Sidebar With Frame

ในช่วงฤดูฝนเมื่อต้นข้าวเริ่มแทงยอดอ่อน ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปูนาจะพากันออกมา   ตามท้องนากันอย่างชุกชุม  ชาวบ้านในภาคเหนือต่างนิยมจับมาบริโภค  เมื่อจับได้ในปริมาณมากจนรับประทานไม่ทัน   จึงได้มีการนำมาแปรรูปถนอมอาหารทำเป็นเครื่องปรุงรส ที่เรียกกันว่า “น้ำปู” หรือ “น้ำปู๋” ตามการออกเสียงใน    ภาษาเหนือ โดยหน้าตาของน้ำปูจะคล้ายกะปิแต่มีสีดำ ซึ่งมีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ กระบวนการสำคัญในการผลิตน้ำปูคือ ล้าง ปั่น กรอง หมัก และเคี่ยว  แม้จะใช้เวลาในการผลิตไม่นานเมื่อเทียบกับการผลิตน้ำปลา กะปิ บูดู และปลาร้า  เนื่องจากน้ำปูไม่ต้องใช้เวลาในการหมักที่ยาวนาน  แต่ก็ต้องใช้ความอดทน    ในแต่ละขั้นตอนในกระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่การออกไปจับปูนากลางแดดร้อน ๆ  ซึ่งควรเลือกวันที่แดดจัด  เพราะ    ยิ่งแดดร้อนปูนาจะยิ่งออกมามาก  สามารถใช้ปูนาได้ทุกขนาด แต่ขนาดที่เหมาะกับการผลิตน้ำปูควรมีขนาดกลาง ๆ ซึ่งให้กากน้อยและให้ความหอมมันกว่าปูตัวใหญ่และปูที่ตัวเล็ก  หากต้องการผลิตน้ำปูให้ได้ 1 กิโลกรัม ต้องใช้ปู 7 –...
Read More
อาชีพประมงในวิถีชีวิตของคนไทยในภาคใต้ริมฝั่งทะเล นับว่าเป็นอาชีพหลักสำคัญอันหนึ่งของประชากรไทย การทำประมงมักมีการนำวัตถุดิบหรือนำผลผลิตที่หาได้มาแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหาร เช่น  การนำปลาที่เหลือจากการบริโภคและจำหน่าย มาผ่านขั้นตอนกระบวนการถนอมอาหารออกมาเป็น น้ำบูดู  ซึ่งเป็นน้ำปรุงรสเค็มสำหรับประกอบอาหาร  อันให้รสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์  จนกระทั่งกลายผลิตภัณฑ์แห่งวัฒนธรรมทางอาหารประเภทหนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คำว่า บูดู ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนถึงที่มาของคำ แต่พอจะรวบรวมถึงความเป็นไปได้จากหลายทาง คือ  1. อาจมาจากชื่อของอุปกรณ์จับปลาตัวใหญ่ที่ชื่อ “บูบู๊” ในภาษาท้องถิ่น ปลาตัวใหญ่นี้เรียก “ปลาฆอ” แต่ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นใช้ปลาตัวเล็กเช่นปลากะตัก และคำที่ใช้เรียกออกเสียงเป็น บูดู 2. บูดู เป็นคำที่มาจากภาษายาวี หรือมลายู แต่ไม่สามารถระบุถึงความหมายได้ 3. บูดู มาจากภาษาอินโดนิเซีย ที่หมายถึง ปลาหมักดอง จากเรื่องราวประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเมืองฮาวอ อินโดนิเซีย  จากการถูกรุกราน ระหว่างรอนแรมได้มีการนำปลาที่จับได้มาหมักดองเพื่อเป็นเสบียง และเมื่อขึ้นฝั่ง ณ ที่ตำบล ปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี การผลิตปลาหมักดองนี้จึงได้แพร่หลายในพื้นที่ ...
Read More
กะปิ (shrimp paste/shrimp sauce) เครื่องปรุงรสที่นิยมไปทั่วในประเทศทางเอเชียตะวันออก    เฉียงใต้ ซึ่งอาจใช้วัตถุดิบหรือมีกรรมวิธีแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ อาทิ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว และโดยเฉพาะประเทศไทย อาจเนื่องด้วยมีลักษณะธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ และการเป็นสังคมเกษตรกรรม จึงทำให้วิถีทางวัฒนธรรมมีความคล้ายกัน ชื่อของ กะปิ บางตำราสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “งาปิ๊” ในภาษาพม่าอันหมายถึงปลาหมัก  สำหรับในประเทศไทย กะปิ นับได้ว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญในการประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นน้ำพริก หรือในแกงต่าง ๆ  ซึ่งหากมีกะปิผสมอยู่จะเป็นตัวช่วยชูรสชาติและกลิ่นของอาหารนั้นให้มีความหนัก เข้มข้น หอม และอร่อยอย่างมีเอกลักษณ์ วัตถุดิบในการทำกะปิจะใช้ได้ทั้งปลา กุ้ง และเคย (สัตว์น้ำในวงศ์พวกกุ้ง ลักษณะคล้ายกันมาก) กุ้งฝอยน้ำจืด สามารถแบ่งกะปิออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของเนื้อกะปิ คือ กะปิเหลว  (liquid kapi) ที่มีลักษณะเนื้อเหลว มีความข้นหนืดประมาณซอสมะเขือเทศ ...
Read More
คนไทยแต่ครั้งอดีตนิยมใช้เกลือเป็นหลักในการปรุงรสอาหาร  ต่อมาเมื่อได้มีการถนอมอาหารโดยนำสัตว์น้ำกับเกลือหมักเคล้ากัน เช่น ปลาร้า กะปิ  และในระหว่างขั้นตอนการผลิตยังได้น้ำรสเค็มที่มาจากการหมักนั้น มาใช้ปรุงรสเค็มได้อีกโดยนำมาใช้ปรุงรสในลักษณะของน้ำปลา  แต่จากแหล่งอ้างอิงถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาของการผลิตน้ำปลาในประเทศไทยนั้นมาจากชาวจีนที่เข้ามาประกอบอาชีพ  เป็นผู้ริเริ่มผลิตและนำออกจำหน่ายโดยมักบรรจุลงไห มีการผนึกปากไหและมีตรายี่ห้อสินค้าสลักบนไหอย่างดี ซึ่งปัจจุบันไหน้ำปลาได้กลายเป็นของเก่าสะสมที่มีมูลค่าอยู่พอควร การทำน้ำปลาสามารถใช้ปลาทะเล เช่น ปลากะตัก  ปลาหลังเขียว  และปลาน้ำจืด เช่นปลาสร้อย ปลาซิว  หรือใช้สัตว์อื่นแทนปลา เช่น หอย ปู กุ้ง โดยใช้เกลือเป็นส่วนประกอบหลัก แต่โดยทั่วไปปลากระตัก เป็นปลาที่นิยมนำมาผลิตน้ำปลา    เราสามารถแบ่งประเภทของน้ำปลาได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. น้ำปลาแท้  คือน้ำปลา ที่ได้จากการหมักปลาตามกรรมวิธีผลิตน้ำปลา 2. น้ำปลาจากสัตว์อื่น  คือน้ำปลาที่มีการใช้สัตว์อื่นในการหมักแทนการใช้ปลา โดยอาจมีน้ำปลาแท้ผสมอยู่หรือ   ไม่มีก็ได้ 3. น้ำปลาผสม   คือน้ำปลาที่มีการระเหยน้ำออกไป  หรือน้ำปลาตามข้อ 1 และ 2...
Read More
ทาสแมว ที่เราได้ยินจนคุ้นหูเป็นคำเรียกแทนคนรักแมว วันนี้จะพาผู้อ่านเข้าไปในท่องโลกของเจ้าเหมียวหรือเจ้านายผู้น่ารักขี้อ้อนของเหล่าทาส หนังสือเล่มนี้จะดึงดูดผู้อ่านและบรรดาทาสแมวเข้าสู้โลกอีกใบ โดยมีบาบา แมวลายสลิด ที่จะเป็นผู้นำทางไปสู่ประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคสมัยของเจ้าเหมียว ทั้งยุคขาวและยุคมืดของแมว บอกได้คำเดียวว่าแต่ละเรื่องที่บาบาจะพาเราไปท่องโลกประวัติศาสตร์ของแมวแต่ละตัวที่สำคัญต่อมนุษย์นั้นล้วนน่าสนใจและตื่นเต้น        นอกจากหนังสือเล่มนี้จะน่าอ่านแล้วความน่าสนใจในอีกอย่างคือ ภาพสีสันทั้งเล่มชวนให้น่าอ่านและแมว บาบาที่แต่งชุดต่างๆประกอบเรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมา  ความน่ารัก แสนรู้     ขี้เล่นของบาบาจำให้เพลิดเพลินกับเรื่องราวแบบไม้รู้ตัว ชื่อหนังสือ : ประวัติศาสตร์แมวมอง = A cat’s tale ชื่อผู้แต่ง  : พอล คูดูนาริส, เขียน ; ภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์, แปล. หมวดหมู่ : SF442.6 ค244 2564 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : บริการทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป ชั้น 2 ห้องสมุดวิทยาเขตบางนา
Read More
1 38 39 40 41 42 44

Text Widget

Nullam quis risus eget urna mollis ornare vel eu leo. Nullam id dolor id nibh ultricies vehicula ut id elit. Donec ullamcorper nulla non metus auctor fringilla. Maecenas sed diam eget.

Recent News

เวลาเปิด-ปิด การให้บริการประจำเดือนกันยายน 2567
02/09/2024
ปิดให้บริการวันที่ 10 – 12 สิงหาคม 2567
09/08/2024
ฟรีวีซ่าไทย-China ไทยเที่ยวจีนไม่ต้องขอวีซ่า
09/08/2024